บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

การฝึกกายธรรมจินตภาพ

การฝึกกายธรรมจินตภาพง่ายมาก ถ้าทำถูกวิธีแล้ว ทุกคนก็ทำได้ เช่นเดียวกับการฝึกจินตภาพของตะวันตก ขอย้ำว่า ทุกคนย่อมทำตามได้อย่างแน่นอน

ถ้าใครทำตามไม่ได้ ผมก็สามารถอธิบายอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ได้ว่า เกิดจากสาเหตุขัดข้องอะไร ถ้าสามารถสาเหตุขัดข้องนั้นๆ ออกไปได้แล้ว ก็จะสามารถได้ผลการฝึกเป็นไปตามหลักสูตรอย่างแน่นอน

ท่านผู้อ่านที่เชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่งขอให้นำการฝึกนี้ไปทดลองใช้กับลูกหลานของตัวเองได้ สำหรับเรื่องอันตรายจากการฝึก ผมรับรองและยืนยันว่า ไม่มี

ถ้าท่านสอนลูกหลายท่านผิดไปจากวิธีการที่ผมกำหนด ผลก็คือ ลูกหลานท่านจินตนาการให้เห็นดวงธรรมและกายธรรมไม่ได้ เท่านั้นเอง

ตามหลักของวิชชาธรรมกายแล้ว ใจของเรามีฐานอยู่ 7 ฐาน ดังรูปด้านล่าง


 ถ้าเป็นการฝึกปฏิบัติธรรมแบบวิชชาธรรมกายก็จะต้องนำนิมิต ซึ่งปกตินิยมใช้ดวงแก้วกลมใส นำเข้าไปทั้ง 7 ฐาน แต่ในการฝึกกายธรรมจินตภาพ เราจะนำนิมิตเข้าไปที่ฐาน 1, 2, 3 และก็ลัดไปฐานที่ 7 เลย

การที่เราสามารถลัดจากฐานที่ 3 ข้ามไปฐานที่ 7 ก็เป็นเพราะว่า ฐานที่ 3, 4, 5, 6 และ 7 ตรงกันในแนวดิ่ง ถ้ามองจากด้านบนลงไป ดวงกลมใสของฐานที่ 3, 4, 5, 6 และ 7 ก็สามารถมองเป็นดวงเดียวกันได้

สำหรับคำท่องนั้น ให้ท่องว่า หยุดในหยุด นิ่งในนิ่ง ใสในใส
หยุดในหยุด ต้องการให้หยุดคิดในเรื่องอื่นใด
นิ่งในนิ่ง เมื่อหยุดแล้วก็ต้องนิ่งลงไป  ถ้าไม่หยุดไม่นิ่ง เดี๋ยวใจก็ไปคิดเรื่องอื่น
ใสในใส จินตนาการให้เห็นดวงกลมใส อยู่ในท้องเหนือระดับสะดือ 2 นิ้ว

หลักการสำคัญของการฝึกกายธรรมจินตภาพก็คือ ท่านต้องแบ่งใจให้ทำงาน 2 ประการพร้อมๆ กันคือ ท่องคำภาวนาไปด้วย และจินตนาการให้เห็นดวงแก้วกลมใสไปด้วย

วิธีการฝึก
ท่านั่ง
ท่านจะฝึกกายธรรมจินตภาพในท่าใดก็ได้ ไม่ว่าจะนั่งขัดสมาธิ นั่งบนเก้าอี้ นอน ยืน เดิน ฯลฯ หลักการสำคัญก็คือ ท่านจะต้องไม่ให้มีการอึดอัดคับข้องกับร่างกาย ร่างกายจะต้องอยู่ในท่าสบายๆ สามารถขยับเนื้อขยับตัวได้สะดวก

อย่างไรก็ดี ท่านั่งพื้นฐานซึ่งก็คือ เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย นิ้วชี้ของมือขวาดจรดนิ้วโป้งของมือซ้ายจะเป็นที่นั่งที่เหมาะสมที่สุด และนั่งได้นานกว่าท่าอื่นๆ

การที่บอกว่า นั่งได้นานกว่าท่าอื่นๆ ก็เป็นเพราะว่า ธรรมชาติของมนุษย์นั้น ไม่ว่าท่านจะอยู่ในท่าทางแบบไหน ท่านก็ต้องเมื่อย ต้องเบื่อเมื่ออยู่ในท่านั้นนานๆ

การสวดมนต์ไหว้พระ
ในเมื่อการฝึกกายธรรมจินตภาพนี้ต้องการพัฒนาให้เป็นสากล เพื่อนำไปใช้ได้กับคนทุกชาติทุกภาษา จึงไม่จำเป็นจะต้องสวดมนต์ไหว้พระก่อนการฝึก แต่ถ้าท่านที่เป็นพุทธศาสนิกชนอยู่แล้ว ก็สามารถสวดมนต์ไหว้พระก่อนการฝึกก็ได้

นิมิต
หน้าที่ของนิมิตนี้ รวมถึงคำภาวนาด้วย มีไว้เพื่อทำให้ใจของเราเหลือเพียงอารมณ์เดียว (เอกัคตารมณ์) ดังนั้น รูปร่างลักษณะของนิมิตจึงไม่จำเป็นจะต้องเหมือนกันทุกคน

แต่จากการศึกษของหลวงพ่อวัดปากน้ำ ท่านพบว่า ดวงแก้วกลมใสนั้น เหมาะสำหรับคนส่วนใหญ่ ท่านจึงกำหนดให้นิมิตของท่านเป็นดวงแก้วกลมใส

เหตุผลสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ ดวงปฐมมรรค/ดวงธรรมานุปัสนาสติปัฏฐานก็มีลักษณะเป็นดวงแล้วกลมใสเช่นเดียวกัน แต่โดยปกติแล้วจะใสกว่าและใหญ่กว่าดวงนิมิตที่หลวงพ่อวัดปากน้ำกำหนดไว้ คือ ขนาดเท่าตาดำของผู้ปฏิบัติ

จากประสบการณ์การสอนพบว่า ผู้ปฏิบัติธรรมบางท่าน กำหนดดวงนิมิตใหญ่กว่าแก้วตาดำของตนเอง ดังนั้น เมื่อดวงนิมิตเปลี่ยนเป็นดวงปฐมมรรค/ดวงธรรมานุปัสนาสติปัฏฐาน ผู้ปฏิบัติธรรมยังไม่รู้เลยว่า เปลี่ยนตั้งแต่ช่วงไหน เมื่อไหร่

ในการไปสอนที่โรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา มีนักเรียนที่นับถือศาสนาคริสต์อยู่ด้วย และนักเรียนไม่สบายใจที่จะกำหนดดวงนิมิตเป็นดวงแก้วกลมใส เพราะ คิดว่า เป็นของศาสนาพุทธ ผมจึงแนะนำให้กำหนดนิมิตเป็นไม้กางเขนสีขาว

นักเรียนผู้นี้รายงานว่า เมื่อตนเองจะเห็นดวงปฐมมรรค/ดวงธรรมานุปัสนาสติปัฏฐานนั้น ไม้กางเขนได้ม้วนตัวเองกลายเป็นดวงแก้วกลมใส

สำหรับนักเรียนที่นับถือศาสนาอิสลาม ผมเองไม่มีโอกาสได้สอน แต่เพื่อนวิทยากรท่านอื่นๆ ได้สอนและเล่าให้ฟังว่า จะให้นักเรียนกำหนดนิมิตเป็นดวงจันทร์ ก็ได้ผลการสอนเช่นเดียวกัน

โดยสรุป นิมิตนี้ ผู้ฝึกกายธรรมจินตภาพจะจินตนาการให้เป็นวัตถุใดๆ ก็ได้ เช่น ดวงแก้วกลมใส ดวงจันทร์ ฟองสบู่ ไม้กางเขน ฯลฯ เป็นต้น แต่สีของสิ่งที่กำหนดนั้น ควรเป็นสีใสๆ สีขาว สีแดง สีเหลือง และสีเขียว เท่านั้น ไม่ควรกำหนดให้เป็นสีอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สีดำนี้ ห้ามขาดเลยทีเดียว

ใครบ้างที่สามารถฝึกกายธรรมจินตภาพได้
บุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 3 ขวบขึ้นสามารถฝึกกายธรรมจินตภาพได้ทั้งสิ้น รวมถึงเด็กเหล่านี้ด้วยคือ
1) เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา/ปัญญาอ่อน
2) เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน/หูหนวก
3) เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น/ตาบอด
4) เด็กดาวน์ซินโดรม
5) เด็กออทิสติก

ใน 4 ประเภทแรกนั้น ผมเคยมีประสบการณ์สอนมาแล้วทั้งนั้น เด็กที่สอนยากที่สุดคือ เด็กประเภทที่สอง คือ เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน/หูหนวก

เนื่องจากการฝึกกายธรรมจินตภาพนี้ จะเน้นการพูดให้ผู้ฝึกทำตาม แต่ผมก็มีวิธีที่สามารถฝึกได้ ซึ่งจะอธิบายในรายละเอียดต่อไปข้างหน้า

สำหรับเด็กออทิสติก ผมไม่เคยมีประสบการณ์สอนด้วยตัวของผมเอง แต่เพื่อนวิทยากรเคยสอน และเล่าให้ฟังว่า สามารถฝึกได้เช่นเดียวกัน และอาการทางโรคดีขึ้น จนหมอแปลกใจ[1]

ขั้นตอนในการฝึก
ในการฝึกเด็กๆ นั้น ผู้ใหญ่ควรบรรยายให้เด็กฟัง แล้วให้เด็กทำตาม แต่สำหรับผู้ใหญ่เองแล้ว ถ้าไม่มีวิทยากรสอนให้ ก็สามารถฝึกปฏิบัติด้วยตนเองได้

1) ให้กำหนดนิมิตดวงแก้วกลมใส [2] ไว้ที่ปากช่องจมูกของตนเอง หญิงปากช่องจมูกซ้าย ชายปากช่องจมูกขวา

ดวงแก้วกลมใสนั้น เป็นของทรงกลม จึงมีจุดศูนย์กลางอยู่ ผู้ฝึกควรส่งใจไปกลางดวงแก้วกลมใส ถ้าสามารถกำหนดให้เห็นจุดเล็กใส ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของดวงแก้วกลมใสได้ก็ยิ่งดี แต่ถ้ายังไม่เห็นก็ไม่เป็นไร

ต่อจากนั้น ให้ท่องคำภาวนาว่า หยุดในหยุด นิ่งในนิ่ง ใสในใส (3ครั้ง) และนึกให้ดวงแก้วกลมใสสว่างขึ้นไปอีก เท่าที่นึกได้

2) เลื่อนดวงแก้วกลมใสไปที่ฐานที่ 2 คือ เพลาตา ผู้หญิงข้างซ้าย ผู้ขายข้างขวา เพลาตาก็คือ หัวตา ตรงที่น้ำตาไหลออกมา

ส่งใจเข้าไปที่กลางดวงแก้วกลมใส ภาวนาว่า หยุดในหยุด นิ่งในนิ่ง ใสในใส (3ครั้ง) และนึกให้ดวงแก้วกลมใสสว่างขึ้นไปอีก เท่าที่นึกได้

3) เลื่อนดวงแก้วกลมใสไปที่ฐานที่ 3 คือ จอมประสาท ตรงกลางกะโหลกศีรษะ ส่งใจเข้าไปที่กลางดวงแก้วกลมใส ภาวนาว่า หยุดในหยุด นิ่งในนิ่ง ใสในใส (3ครั้ง) และนึกให้ดวงแก้วกลมใสสว่างขึ้นไปอีก เท่าที่นึกได้

4) เลื่อนดวงแก้วกลมใสไปที่ฐานที่ 7 คือ ศูนย์กลางกาย เหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ (ความกว้างของนิ้วชี้และนิ้วกลางชิดกัน) ส่งใจเข้าไปที่กลางดวงแก้วกลมใส ภาวนาว่า หยุดในหยุด นิ่งในนิ่ง ใสในใสตลอดไป ท่องไปด้วย ใจก็นึกให้เห็นดวงแก้วกลมใสไปด้วย

เมื่อใจหยุดนิ่งดีแล้ว ก็จะเห็นดวงปฐมมรรค/ดวงธรรมานุปัสนาสติปัฏฐานที่ศูนย์กลางกายนี้ เห็นดวงปฐมมรรคเมื่อใด ร่างกายของเราจะรู้สึกโปร่งๆ โล่งสบาย คนที่เห็นดวงปฐมมรรคจะเข้าใจ คำว่า ความสุขที่เกิดจากความสงบได้เป็นอย่างดี

เวลาในการฝึก
ถ้าถามว่า ควรฝึกนานขนาดไหนในการฝึกแต่ละครั้ง เรื่องนี้ไม่มีกำหนด เช่นเดียวกับจำนวนครั้งของการฝึกในแต่ละวัน ขึ้นอยู่กับความสะดวกและความตั้งใจจริงของแต่ละบุคคล มีหลักการง่ายๆ ว่า ควรฝึกทุกครั้งที่มีโอกาส

ผมเองในขณะที่ทำงานไป บางครั้งเกิดอาการง่วงนอน หรือเกิดอาการเครียด ผมจะฝึกจินตาภาพของผมทันที เมื่อฝึกไปได้ระยะหนึ่ง อาการดังกล่าวนั้น จะหายไป ผมก็กลับมาทำงานต่อ
..............................................

อ้างอิง

[1] เด็กที่เพื่อนวิทยากรสอนนั้น จะชักวันหนึ่งหลายครั้ง เป็นปัญหากับพ่อแม่มาก เมื่อได้ฝึกกายธรรมจินตภาพไปแล้ว และพัฒนาต่อไปจนฝึกการปฏิบัติธรรมแบบวิชชาธรรมกาย ผ่านวิชชา 18 กายไปแล้ว อาการชักของเด็กผู้นี้ลดลงอย่างมาก จนพ่อแม่จำไม่ได้ว่า ลูกของตนเองชักครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่

[2] ดังได้กล่าวมาแล้วว่า นิมิตนั้นจะกำหนดให้เป็นรูปหรือวัตถุใดๆ ก็ได้ แต่ในการบรรยายนั้น จะต้องเลือกนิมิตแบบใดแบบหนึ่งเพื่อเป็นตัวแทนของนิมิตที่หลากหลายนั้น ผมจึงเลือกใช้ตามคำสอนดั้งเดิมคือ ดวงแก้วกลมใส




13 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ16 กรกฎาคม 2554 เวลา 11:38

    เวลาส่งใจที่ปลายจมูกหรือตามฐานต่างๆ ผมมักจะนึกหน้าหรือร่างกายตัวเองไม่ออก จะทำอย่างไรดีครับ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ16 กรกฎาคม 2554 เวลา 11:53

    อีกคำถามครับ

    กรณีผมจินตนาการเข้าฐาน 7 แล้ว ใจผมมักเหมือนก้มมองลงไปมองจากด้านบนลงไปเพื่อเข้าไปมองฐานที่ 7 ไม่ทราบว่าถูกต้องไหม และที่ถูกต้องเป็นอย่างไร เช่น ต้องมองจากด้านข้าง ด้านหน้า แบบไหนถึงจะถูกครับ

    ตอบลบ
  3. เวลาส่งใจที่ปลายจมูกหรือตามฐานต่างๆ ผมมักจะนึกหน้าหรือร่างกายตัวเองไม่ออก จะทำอย่างไรดีครับ

    ให้ใช้ความรู้สึกว่า ใจเราอยู่ที่นั่น ขอย้อนกลับไปอธิบายเรื่อง “รูป” อีกครั้งหนึ่ง

    เวลาผมจะสอนให้ผู้เรียนนึกเอาใจไปหยุดตามฐานต่างๆ มีอยู่อย่างน้อย 2 วิธีคือ

    1) วาดจมูกอย่างเดียวใหญ่ๆ เอาดวงใสไปหยุดตรงนั้น ตาก็วาดใหญ่ๆ ฐานอื่นๆ ก็ทำนองเดียว ผมก็จะมีรูป 7 รูป

    เวลาสอนจะวุ่นวายดีไหม

    2) วาดภาพคนด้านข้าง แล้ววาดฐานทั้ง 7 ฐาน

    ดังนั้น ภาพที่ผมทำให้เห็นนั้น เพื่อให้ “รู้” และ “เข้าใจ” ว่า จะนำดวงใสไปหยุดที่ตรงไหนบ้าง แต่ไม่ต้องนึกให้เห็นภาพทั้งหมด

    นึก-คิด-จินตนาการ นำดวงใสไปหยุดตามฐานต่างๆ ไม่ต้องนึกให้เห็นภาพของตัวเอง

    กรณีผมจินตนาการเข้าฐาน 7 แล้ว ใจผมมักเหมือนก้มมองลงไปมองจากด้านบนลงไปเพื่อเข้าไปมองฐานที่ 7 ไม่ทราบว่าถูกต้องไหม และที่ถูกต้องเป็นอย่างไร เช่น ต้องมองจากด้านข้าง ด้านหน้า แบบไหนถึงจะถูกครับ

    คำตอบก็คล้ายๆ ข้อก่อน อย่าไปนึกถึงร่างกายของเรา นึกแค่ฐานที่ 7 นึก-คิด-จินตนาการให้เห็นดวงใสที่นั่น

    ภาพตัวอย่าง ภาพอะไรอย่าไปคิด

    เมื่อใจหยุดนิ่งดีแล้ว เราจะ “เห็น” ดวงใสที่ฐานที่ 7 เอง

    ธรรมชาติเป็นแบบนั้น

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ8 สิงหาคม 2556 เวลา 12:33

    สายวัดพระธรรมกายเคยบอกมาว่า ถ้าเคยฝึกกำหนดลมหายใจมาก่อน แล้วเกิดติดในลมหายใจ ก็สามารถเอาใจไปตั้งไว้ที่ศูนย์กลางกาย แล้วกำหนดรู้ลมหายใจที่ไปสุดที่นั่น โดยไม่จำเป็นต้องไปนึกภาพนิมิตใดๆทั้งสิ้น คอยกำหนดรู้ลมหายใจที่ศูนย์กลางกายอย่างเดียว แล้วภาวนาด้วยคำอะไรก็ได้ จะสัมมาอะระหัง ยุบหนอพองหนอ เกิดดับ หยุดในหยุด ก็ได้ทั้งนั้น

    อันนี้ ถูกหรือมั่วครับ

    ตอบลบ
  5. คุณจะไปฟังความคิดของคนวัดพระธรรมกายได้อย่างไร

    วัดมันตั้งมากี่ปี่ สอนให้คนเห็นดวงธรรมไม่ได้เลยสักคน ไอ้ที่เห็นและเอามาเผยแพร่นั้น ผิดทั้งนั้น

    หลักของวิชาธรรมกายนั้น ถ้าใจหยุดที่ฐานที่ 7 เหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือของใครของมัน ถูกส่วน หรือหยุดได้นิ่งและนานพอสมควร ก็จะเห็นดวงธรรม หรือดวงปฐมมรรค

    แต่การที่จะนำใจไปหยุดที่ฐานที่ 7 เลยนั้น ไม่ได้ มันผิดวิธี จะต้องเข้าไปตามฐาน

    กลับมาที่หลักการที่ว่า ใจหยุดที่ฐานที่ 7 ถูกส่วนนั้น มันทำยากมาก และไม่พบว่า มีใครทำได้มาก่อน หมายถึงว่า อยู่ดีๆ ก็เอาใจไปหยุดที่ฐานที่ 7 เลย แล้วเห็นดวงปฐมมรรค

    ดังนั้น เราจึงต้องบริกรรมภาวนา คือ ท่องไปด้วย เพื่อให้ลืมเรื่องอื่น

    ท่องอย่างเดียวก็ยังไม่พอ เราก็ต้องนึกหรือจินตนาการไปด้วย เพื่อให้ลืมเรื่องอื่น ให้เลือกเพียง "เอกัตคตารมณ์"

    ตอบลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ29 สิงหาคม 2556 เวลา 19:13

    ผมเคยฝึกสายพุทโธ แต่ยังไม่เห็นอะไร สายนั้นเขาให้ตั้ง "ความรู้สึกทั้งหมด" ไว้ที่ปลายจมูก พอลมหายใจเข้ามากระทบก็ภาวนาพุท พอลมหายใจออกมากระทบก็ภาวนาโท ไม่ส่ายความรู้สึกไปที่อื่นหรือไปตามลม
    อยากทราบว่า สิ่งที่เรียกว่า "ใจ" "เห็น จำ คิด รู้" ของสายธรรมกาย ใช่อย่างเดียวกับเจ้า "ความรู้สึกทั้งหมด" ของสายพุทโธหรือเปล่าครับ

    อีกข้อหนึ่ง ผมเคยฝึกสายพุทโธ แบบไม่ต้องนึกนิมิตมาก่อนอ่ะครับ พอเปลี่ยนมาสายธรรมกายที่ต้องกำหนดนิมิตเป็นลูกแก้ว ผมก็นึกไม่ออก นึกแล้วก็เครียด ไม่เป็นสมาธิสักที
    จะทำแบบไม่ต้องนึกนิมิตได้ไหมครับ แบบว่าเอาความรู้สึกทั้งหมดเข้าไปตามฐาน ไปเรื่อยๆจนไปหยุดที่ศูนย์กลางกาย

    ตอบลบ
  7. 1) เห็น จำ คิด รู้ ของสายธรรมกาย กับเจ้า "ความรู้สึกทั้งหมด" ของสายพุทโธ คนละอย่างกัน

    แล้วก็ไม่ต้องไปสนใจแล้ว เพราะ ไม่ได้ช่วยในการฝึกปฏิบัติ

    2) ที่คุณถามมา ทำได้คือ เอาความรู้สึกทั้งหมดเข้าไปตามฐาน ไปเรื่อยๆจนไปหยุดที่ศูนย์กลางกาย แล้วก็เอาใจหยุดที่นั้น

    เดี๋ยวก็เห็นดวงใสเอง

    แต่อย่างไรก็ตาม วิชาธรรมกายนั้น ควรจะเรียนกับวิทยากรก่อน เพราะ มันไม่ใช่แค่การฝึกอย่างเดียว มันเกี่ยวกับมาร เกี่ยวกับเรื่องอื่นๆ อีกหลายอย่าง

    เมื่อคุณฝึกวิชาธรรมกายแบบมาตรฐานกับวิทยากรแล้ว

    คุณก็สามารถดัดแปลงไปตามที่คุณต้องการได้

    จำไว้ว่า "เมื่อเราเอาใจไปหยุดที่ฐานที่ 7 พอถูกส่วน" ก็จะเห็นดวงธรรม กายธรรมเอง ผมเห็นด้วยวิธีนี้

    ตอนผมฝึก ผมก็นึกนิมิตไม่ออกเหมือนกัน

    ตอบลบ
  8. ไม่ระบุชื่อ1 กันยายน 2556 เวลา 19:39

    ผมถามวิทยากรมาแล้ว เขาบอกว่าจำเป็นต้องนึกนิมิตน่ะครับ ขาดไม่ได้
    ซึ่งถ้าให้ผมทำแบบนั้น ก็ไม่รู้ว่าเมื่อไรจะเป็นสมาธิสักที ทำไปก็มีแต่เครียด เพราะไม่ถูกจริต

    เอางี้แล้วกัน ผมอยากให้ท่านลองเปรยๆมาหน่อยสิครับว่า ตอนที่ท่านเห็นนั้น ท่านฝึกอย่างไร ทำไมถึงเห็นได้โดยไม่ต้องนึกนิมิต เผื่อผมจะได้ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติกว้างๆได้ครับ

    ตอบลบ
  9. วิทยากรที่บอกคุณนั้น ความรู้น้อยเกินไป ศึกษาไม่มากนัก

    เหตุผลของผม

    1) ตอนหลวงพ่อวัดปากน้ำเห็นดวงธรรม ท่านก็ไม่ได้นึกนิมิตอย่างที่เอามาสอน

    2) ตำราของหลวงพ่อบอกเองเลยว่า ถ้าเอาใจหยุดที่ฐานที่ 7 ถูกส่วน ก็ต้องเห็นดวงธรรม แต่มันทำยาก ท่านถึงสอนให้บริกรรมภาวนา และบริกรรมนิมิตไปด้วย

    3) ผมเห็นกายธรรม ตอนผมฝึกยุบหนอพองหนอ พอลมหยุด (หนังสือลุงอธิบายว่า ลมหายใจออกกับลมหายเข้าเท่ากัน) ก็เห็นกายธรรม

    ผมไม่เห็นดวงธรรมก่อน ผมเห็นกายธรรมเลย (หนังสือหลวงพ่อบอกว่า พวกเห็นกายธรรมเลย บารมีสูงมาก)

    ตอบลบ
  10. ไม่ระบุชื่อ10 ตุลาคม 2556 เวลา 17:45

    จิตมันฟุ้งหนักครับ คิดไปเรื่อย ไม่เคยนั่งได้ถึงห้านาทีเลย มีทางแก้ให้มันฟุ้งน้อยลงรึเปล่าครับ

    ตอบลบ
  11. ก็อย่าไปนั่งปฏิบัติตามกำหนดเวลาอย่างนั้น

    ให้ทำทุกครั้ง ทุกที่ที่พอจะทำได้ นั่งทำงานอยู่ พอนึกได้ก็ทำสัก 1-2 นาที

    เดินๆ อยู่ ก็ทำสัก 1-2 นาที ตื่นนอน ก่อนนอน ก็ทำสัก 1-52 นาที

    ทำบ่อยๆ เดี๋๋ยวก็ดีไปเอง

    ตอบลบ
  12. ผมนึกนิมิตไม่ออกน่ะครับ ฝืนทำไปแล้วเครียด สาเหตุสำคัญก็คือ จำภาพดวงแก้วไม่ได้เสียที

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่ต้องนึกเป็นดวงแก้ว นึกอะไรก็ได้ที่คุณชอบมากที่สุดเป็นนิมิตแทน

      ผมสอนนักศึกษา บางคนนึกเป็น ไอโฟน 5 s บางคนเป็นมอเตอร์ไซค์ บางคนนึกเป็น Toyaota yaris

      พอไปถึงฐานที่ 7 แล้ว ทุกอย่างก็กลายเป็นดวงใสทั้งหมด

      ถึงคุณไม่นึกถึงอะไรเลย แค่เอาใจไปหยุดที่ฐานที่ 7 ก็ได้

      สำหรับผลของการปฏิบัตินั้น คุณได้แล้ว ถึงแม้จะยังไม่เห็นดวงใส เพราะ อย่าไปทำเพื่อให้เห็นดวงใส

      ทำเพื่อลดความเครียด ทำเพื่อพัฒนาความดีในตัวเอง

      ลบ