บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

กายธรรมจินตภาพ

จินตนาการสำคัญกว่าความรู้
Imagination is more important than knowledge.
อัลเบิร์ต ไอสไตน์ (Albert Aistein)

บล็อกนี้ ผมต้องการเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับกายธรรมจินตภาพ (Dhammakaya Imagery) โดยมีวัตถุประสงค์หลายประการ ประการแรกที่นึกได้ในตอนนี้ก็คือ ต้องการให้เป็นหลักฐานว่า ผมเองเป็นผู้พัฒนากายธรรมจินตภาพ (Dhammakaya Imagery) นี้ขึ้น

บางท่านอาจจะสงสัยว่า เป็นหลักฐานเกี่ยวกับอะไร?

ขออธิบายว่า องค์ความรู้ ทฤษฎี ฯลฯ ต่างๆ ที่เราคิดขึ้น ถ้าเราไม่เขียนให้เป็นหลักฐานในที่สาธารณชนไว้ เราเผยแพร่ไปเรื่อยๆ แบบไม่เป็นวิชาการ ถ้ามีบุคคลอื่นนำองค์ความรู้หรือทฤษฎีที่ว่านั้น เผยแพร่ในที่สาธารณะก่อน ลิขสิทธิ์ต่างๆ จะตกเป็นของผู้นั้นในทันที

ทำไมจะต้องมี กายธรรมจินตภาพ”  (Dhammakaya Imagery)

จากการออกไปสอนการปฏิบัติธรรมแบบวิชาธรรมกายในที่ต่างๆ การอบรมการปฏิบัติธรรม และทำวิจัย ผมมีปัญหามากมายกับข้อสงสัยของผู้ที่ไม่เชื่อ

ยกตัวอย่างเช่น นักเรียนเห็นจริงๆ หรือเปล่า นักเรียนโกหกหรือเปล่า คิดไปเองหรือเปล่า สะกดจิตหรือเปล่า ฯลฯ เป็นต้น

ที่เป็นปัญหามากที่สุดก็คือ ผมเคยทำวิจัยเรื่อง ผลของการปฏิบัติธรรมสายวิชาธรรมกายที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์และการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

ผลของการวิจัย พบว่า การปฏิบัติธรรมสายวิชาธรรมกายพัฒนาความฉลาดทางปัญญา (IQ) ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ได้ แต่พัฒนาการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม (moral reasoning) ไม่ได้

กลุ่มตัวอย่างมี 58 คน มีผลของการปฏิบัติธรรมดังนี้
1) จิตสงบ             จำนวน 2 คน       คิดเป็นอัตราร้อยละ 3.45
2) เห็นดวงปฐมมรรค        จำนวน 18 คน     คิดเป็นอัตราร้อยละ 31.03
3) เห็นกายธรรมพระโสดา               จำนวน 28 คน     คิดเป็นอัตราร้อยละ 48.28
4) เห็นกายธรรมพระสกิทาคามี      จำนวน 6 คน       คิดเป็นอัตราร้อยละ 10.34
5) เห็นกายธรรมพระอนาคามี         จำนวน - คน        คิดเป็นอัตราร้อยละ -
6) เห็นกายธรรมพระอรหัต              จำนวน 4 คน       คิดเป็นอัตราร้อยละ 6.90

กลุ่มตัวอย่างสามารถปฏิบัติธรรมในสายวิชาธรรมกายได้ผลจริง คือ เห็นดวงธรรม และกายธรรมคิดเป็นร้อยละ 31.03 และ 65.52 ตามลำดับ

รวมเป็นผู้เห็นดวงธรรมและกายธรรม คิดเป็นร้อยละ 96.55 มีกลุ่มตัวอย่างที่ทำได้แต่เพียงจิตสงบเพียงร้อยละ 3.45 เท่านั้น

ผมได้ส่งงานวิจัยดังกล่าวเพื่อเข้า การประชุมทางวิชาการ การวิจัยทางการศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 12ซึ่งประชุมกันเมื่อ 15-16 พฤศจิกายน 2550 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ

คณะกรรมการก็รับงานวิจัยของผมเพื่อเข้าร่วมประชุม แต่ในหนังสือรายงานการประชุมทางวิชาการดังกล่าว ได้ตัดผลการวิจัยส่วนที่เป็นการรายงานว่า กลุ่มตัวอย่างเห็นดวงธรรมและกายธรรมออกไป

ก็แสดงว่า กรรมการของการประชุมฯ เห็นว่า งานวิจัยน่าสนใจ แต่รับไม่ได้ว่า ในการปฏิบัติธรรมจะเห็นดวงธรรมและเห็นกายธรรม

ดังนั้น ผมจึงเห็นว่า ถ้าผมตีความการปฏิบัติธรรมแบบวิชาธรรมกายในระดับเบื้องต้น[1] ให้เป็นกายธรรมจินตภาพน่าจะยอมรับกันได้ในทางวิชาการ เพราะ การฝึกจินตภาพกำลังเป็นที่นิยมศึกษาและนำไปใช้ประโยชน์กันมากในปัจจุบันนี้

ประโยชน์อีก 2-3 ประการก็คือ เมื่อมีการพัฒนาการปฏิบัติธรรมแบบวิชาธรรมกายในระดับเบื้องต้น ให้เป็นกายธรรมจินตภาพ

กายธรรมจินตภาพก็จะสามารถนำไปใช้ในทุกเชื้อชาติและศาสนา ก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมโลกขึ้นอีกด้วย

…………………………..
อ้างอิง
[1] ขออธิบายเพื่อป้องกันการเข้าใจผิดว่า ผมไม่ได้ตีความการฝึกปฏิบัติธรรมแบบวิชาธรรมกายทั้งหมดให้เป็นกายธรรมจินตภาพ

ที่นำมาตีความและนำไปสอนนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการฝึกเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งจะเป็นส่วนไหน เท่าใดจะได้อธิบายต่อไป

ขอย้ำอีกหน่อยว่า ในการตีความครั้งนี้ไม่ได้ดัดแปลงเนื้อหาคำสอนของวิชาธรรมกายที่หลวงพ่อวัดปากน้ำสอนไว้แต่อย่างใด เป็นเพียงตีความและปรับปรุงเทคนิคการสอนบางประการที่เป็นเบื้องต้นเท่านั้น

ประการสำคัญก็คือ ผมได้ขออนุญาตกับหลวงพ่อวัดปากน้ำแล้ว

หลวงพ่อวัดปากน้ำ บอกว่า ถ้าผมเห็นดีเห็นงานอย่างไร ก็ทำไปได้เลย แต่วิธีการที่ผมไปขออนุญาตหลวงพ่อวัดปากน้ำ และหลวงพ่อวัดปากน้ำตอบมาอย่างนั้น ผมมีวิธีการทำอย่างไร ผมขออนุญาตไม่นำเสนอมาไว้ ณ ที่นี้

 เพราะ เท่าที่ผมมีประสบการณ์ การอธิบายทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อหวังดีต่อประชาชน ในบางครั้งผลที่ได้รับกลับมา กลับเป็นโทษเสียอีก

ดังนั้น เรื่องบางเรื่อง ผมจึงไม่ขออธิบายไว้ ดังเช่นเรื่องดังกล่าวนี้เป็นต้น




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น